วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาการเสียของ ram

ปัญหาของแรมที่พบบ่อย ๆ และการแก้ไข

มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น

2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา

3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว 4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้ วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมนบอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่

5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์ ผิดผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว

เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้

1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่

2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่

ใช้แล้วเครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้

1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้

2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด

3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้

4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี

5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะ

ขนาดของ RAM เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้

1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของ

2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย

3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB

4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมา ข้างต้น

RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ

1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz

2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto

3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด

อาการเสียของซีพียู

สาเหตุที่มักทำให้ซีพียูมีความร้อนสูงขึ้นจนทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์

• การเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือการ Overclock : เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ของผู้ใช้ที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นเพราะว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะทราบดีว่าความเร็วของซีพียูที่ระบุหรือกำกับมากับตัวซีพียูแต่ละตัวนั้น ไม่ใช่ค่าความเร็วสูงสุดที่แท้จริง แต่เป็นเพียงค่าความเร็วที่เหมาะสมสำหรับทำให้การทำงานของซีพียูนั้นเกิดความเสถียรมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้ก็มักจะมีการดัดแปลงให้ซีพียูเหล่านี้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นกว่าที่กำกับไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก็คืออายุการใช้งานของซีพียูที่สั้นลงและความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นจะสูงขึ้นมากกว่าปกติจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแฮงค์บ่อยๆ

• การเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพ : นอกจากสาเหตุอันเนื่องมาจาก การ Overclock แล้วนั้น ในการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ขึ้นได้ เพราะหน้าที่ของฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูก็คือ นำพาความร้อนจากซีพียูมาเก็บไว้ที่ตัวแล้วใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายอากาศ เพราะฉะนั้นถ้าวัสดุที่นำมาใช้ทำฮีตซิงค์ไม่มีคุณสมบัติของการนำพาความร้อนที่ดีพอ และพัดลมระบายอากาศเป่าระบายความร้อนออกไปได้ไม่ทัน รวมทั้งใช้สารเชื่อมความร้อน หรือซิลิโคนที่ไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาก็คือเครื่องแฮงค์ ในปัจจุบันจะมีฮิตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เลือกซื้ออยู่อย่างมากมาย หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ดังนั้นจึงต้องเลือกฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานด้วย

การแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากความร้อนของซีพียู มีดังนี้.

• ไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overclock โดยที่เราไม่จำเป็น

• เลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพ

• เลือกเคสที่โปร่งและสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในเคสเพิ่มเติมได้

• ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานในห้องที่ร้อน อบอ้าว เป็นเวลานานๆ

• สังเกตว่าอย่าให้มีอะไรมาบังช่องทางของพัดลมระบายอากาศด้านหลังเครื่อง

http://www.csc.kmitl.ac.th/faq/31-general/198-2553-08-04-03.html

อาการเสียของ Mainboard และการ ตรวจสอบเบื้องต้น

เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควรรับรู้และสามารถแก้ไขได้ตัวอย่างเช่น

1.รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง

หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที

2. การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร

ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปรกติต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลยผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสียจึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุสาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอวิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน หรือส่งซ่อมที่ร้าน p.c.point ได้นะครับ

3. เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboardที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้

สาเหตุ

1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส

2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว

3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย

วิธีแก้

1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals

2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled

3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่

4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=33497.0

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

DDR RAM คืออะไร

DDR RAM คืออะไร DDR-RAM (ดีดีอาร์ แรม) หรือ DDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า "Double Data Rate SDRAM" คือ หน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว (Ram) ที่ได้รับการพัฒนา และ ยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SD-RAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SD-RAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับSD-RAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเพียงด้านเดียวคะ แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากมีจำนวนขาสัญญาณ(Pins) 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SD-RAM ที่มีอยู่ 2 ที่

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)


ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรืดเรียกว่า พีซี (Personal computer: PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นบนเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
1) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

2) แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผลึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD ) มีน้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คปกติน้ำหนักอยู่ระหว่าง 3 - 8 กิโลกรัม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากคอมพิวเตอร์โดยโน้ตบุ๊คมาจากน้ำหนักของฮาร์ดดิสก์ และจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่กว่า

แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์

3) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่า แล็ปท็อปน้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายอยู่ทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเท่ากับ แล็ปท็อป


โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์


4) ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลบางอย่างที่สามารถพกพาไปได้สะดวก

ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) 2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) 3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit) 4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ - คีย์บอร์ด (keyboard)
- เมาส์ (mouse)
- สแกนเนอร์ (scanner)
- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
- ไมโครโฟน(microphone)
- กล้องเว็บแคม (webcam)
อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องวาด (Plotter) - แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
จอภาพ (monitor)
เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)
4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร - หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
RAM - หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมล็อกโฟเดอร์ Lock Folder XP 3.6

เอาโปรแกรมล็อคโฟลเดอร์มาให้ลองใช้กันครับ สามารถเลือกออพชั่นการล้อคได้แบบหลากหลาย ทั้งแบบไฟล์ แบบโฟลเดอร์ และแบบทั้งไดรฟ์

สำหรับวิธีการลง และวิธีการใช้งาน มีคู่มือให้เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับข้อแตกต่าง ผมจะบอกว่า โปรแกรมอื่นๆนั้นจะทำการสร้างพื้นที่(โฟลเดอร์)ขึ้น แล้วให้เราเอาไฟล์มาเก็บในนั้น ถึงจะซ่อนได้ สรุปคือ ซ่อนแค่โฟลเดอร์นั้นๆ โฟลเดอร์เดียว(โฟลเดอร์ของโปรแกรม) ซึ่งปัญหาคือ ถ้าเราต้องการซ่อนไฟล์ใหญ่มาก เราต้องเสียเวลาก็อปปี้ไปๆมาๆ

แต่สำหรับโปรแกรมตัวนี้ เราไม่จำเป็นต้องย้ายไฟล์มาไว้ในโฟลเดอร์ที่โปรแกรมสร้างขึ้น แต่ตัวโปรแกรม จะไปล็อคไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นๆแทน เช่น ผมล็อค โฟลเดอร์ในไดรฟ์ซี และอีกโฟลเดอร์ในไดรฟ์ดี ได้พร้อมกันเลย

โดยที่เราไม่ต้องก็อปปี้มาวางในโฟลเดอร์ใด เพียงแค่เราเลือกโฟลเดอร์ที่จะล็อค และกดล็อค แค่นั้น และเมื่อเราเลิกล็อค โฟลเดอร์นั้นก็จะกลับไปอยู่ที่เดิมของมัน

download Lock Folder XP 3.6

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

มาพร้อมแครกเรียบร้อยแล้วครับ อินเตอร์เฟซใช้งานง่าย และ สวย รวมทั้งขนาดโปรแกรมเล็กๆ ลองโหลดไปใช้กันครับ





เมื่อเราคลิกไอคอนโปรแกรม จะปรากฎหน้าต่างให้เรากรอกพาสเวิร์ด จากนั้นคลิกที่ปุ่ม โพรเท็ค แล้วเลือกชนิดของการป้องกัน เช่นป้องกันทั้ง ไดรฟ ป้องกัน แค่โฟลเดอร์ หรือป้องกันเป็นไฟล์



ในกรณีนี้ผมเลือกป้องกันเป็นโฟลเดอร์ เมื่อเลือกแล้วหน้าต่างโปรแกรมจะให้เราเลือกว่า จะป้องกันโฟลเดอร์ไหน ผมเลือก my picture



จากนั้นรายชื่อของโฟลเดอรืก็จะปรากฎในหน้าต่างของโปรแกรม เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ให้สังเกต ไอคอนรูปกุญแจ หากเราไปคลิกไฟล์ไหนในลิสต์รายการแล้ว ขึ้นว่า Locked หมายถึงล็อคโฟลเดอร์แล้ว แต่อันไหนขึ้นว่า Unlocked คือ ยังไม่ได้ล็อค และเมื่อเราเข้าไปหาโฟลเดอร์ที่เราล็อคไว้เราจะหาไม่พบ เพราะโฟลเดอร์นั้นจะถูกโปรแกรมป้องกันไว้ ต้องไปสั่งปลดล็อคในโปรแกรมก่อน ซึ่งเราจะมีพาสเวิร์ดที่จะเข้าไปสั่งปลดล็อคเพียงคนเดียว





ซึ่งถ้าเราจะปลดล้อคก็เพียงแค่ เลือกชื่อโฟลเดอร์ในลิสต์ของโปรแกรม แล้วกดปุ่ม Locked ให้กลายเป็น Unlocked เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย
เมือ่เราใช้งานโฟลเดอร์นั้นแล้ว ก็อย่าลืม กลับมาสั่งล็อคไว้เหมือนเดิมละครับ ด้วยวิธีการเหมือนเดิมคือ เลือกโฟลเดอร์ แล้วกดปุ่ม Unlocked ให้กลายเป็น Locked



หรือหากเราต้องการลบรายการโพรเท็คออกจากระบบการป้องกัน ก้เพียงแค่คลิกเลือกชื่อโฟลเดอร์ แล้วเลือกกดปุ่ม รีมูฟ แค่นั้นครับ โฟลเดอร์นั้น ก็จะกลับมาอยู่ในระบบการทำงานแบบปกติ